โดย ดร.ภญ. อโนมา เจริญทรัพย์ Blackmores Institute
2. วิตามินรวมและแร่ธาตุ – การดูแลสุขภาพพื้นฐาน
แม้เราจะรับประทานผักผลไม้ทุกวัน แต่ในชีวิตจริงก็มีโอกาสที่ร่างกายจะขาดวิตามินหรือแร่ธาตุบางชนิด โดยเฉพาะในกลุ่มที่ไม่รับประทานอาหารที่หลากหลาย หรือ ผู้สูงอายุ เป็นต้น งานวิจัยจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าวิตามินและแร่ธาตุรวม ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและลดอัตราการติดเชื้อโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ หลักการของวิตามินและแร่ธาตุรวม คือมีวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด ในปริมาณใกล้เคียงกับที่ร่างกายต้องการ ช่วยเติมเต็มสารอาหารที่อาจขาดไป การรับประทานวิตามินและแร่ธาตุรวม วันละ 1 เม็ดจึงเปรียบเสมือน “การดูแลสุขภาพพื้นฐาน” แต่ถ้าต้องการบำรุงสุขภาพสูงสุด หรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอื่นๆ จำเป็นต้องเสริมวิตามินเดี่ยว หรือสารอาหารอื่นๆ ร่วมด้วย
วิตามินและแร่ธาตุรวม มีหลายสูตร อาจเลือกให้เหมาะกับความต้องการในแต่ละวัย และเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีสารอาหารที่จำเป็นอื่นๆ นอกเหนือจากวิตามินและแร่ธาตุ
3. โพรไบโอติกส์ – ดูแลลำไส้และสุขภาพองค์รวม
ร่างกายเรามีจุลินทรีย์อยู่หลาย 100 ล้านล้านเซลล์ ซึ่งมีผลต่อระบบย่อยอาหาร ภูมิคุ้มกัน และแม้กระทั่งสุขภาวะทางจิต สภาวะปัจจุบัน เช่น การบริโภคน้ำตาลที่มากเกินไป การรับประทานยาบางชนิด มีความเสี่ยงที่จะทำให้จุลินทรีย์ในร่างกายเสียสมดุลย์ ซึ่งการเสียสมดุลย์จุลินทรีย์ มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลายชนิด และเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดความชราภาพ (hallmark of aging)
โพรไบโอติกส์ คือ ตัวช่วยที่เพิ่ม "จุลินทรีย์ที่ดี" ให้กับร่างกาย โดยเฉพาะสายพันธุ์ Lactobacillus และ Bifidobacterium การรับประทานโพรไบโอติกส์เป็นประจำช่วยลดอาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องเสีย ลำไส้แปรปรวน นอกจากนี้ยังช่วยปรับสมดุลย์จุลินทรีย์ เสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีหลายสายพันธุ์และมีจำนวนจุลินทรีย์มากพอ (เช่น หลายพันล้าน CFU ต่อเม็ด) และสายพันธ์ที่มีความทนต่อกรดในกระเพาะอาหาร หรือกรรมวิธีพิเศษ เพื่อให้ทนกรดในกระเพาะอาหาร
4. กรดไขมันโอเมก้า-3 – ดูแลหัวใจ สมอง และข้อ
กรดไขมันโอเมก้า-3 เป็นกรดไขมันดีที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ โอเมก้า-3 ประกอบด้วย EPA และ DHA ซึ่งมีอยู่ในปลาทะเลน้ำลึก เช่น แองโชวี่ แซลมอน หรือในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันปลา
กรดไขมันโอเมก้า-3 มีประโยชน์หลากหลาย เช่น ช่วยลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ ลดการอักเสบ เสริมสุขภาพสมองและความจำ และอาจช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ งานวิจัยในวารสาร Circulation พบว่าโอเมก้า-3 มีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงโรคหัวใจในระยะยาว ปริมาณที่แนะนำสำหรับคนทั่วไป คือ ประมาณ 500 มิลลิกรัมต่อวันของผลรวมของ EPA และ DHA สำหรับผู้ที่มีภาวะสุขภาพบางชนิด เช่น ไขมันไตรกลีเซอไรด์ ข้ออักเสบ จำเป็นที่จะต้องใช้ขนาดที่ปริมาณสูงขึ้น
การเลือกผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ควรเลือกสูตรที่เหมาะสมกับความต้องการทั้งในด้านปริมาณของกรดไขมันโอเมก้า -3 หรือ เน้นปริมาณของ EPA หรือ DHA รวมถึงการเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ผ่านการทดสอบโลหะหนักต่างๆ ที่อาจปนเปื้อนมากับน้ำมันปลา สำหรับผู้ที่รับประทานเจ หรือมังสวิรัติ ปัจจุบัน ยังมีกรดไขมันโอเมก้า-3 จากสาหร่าย ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีเช่นกัน
สรุป
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เรารักษาสุขภาพได้ดีขึ้น โดยเฉพาะในวันที่ร่างกายขาดสมดุล การรับประทานวิตามินและแร่ธาตุรวม วิตามินซี กรดไขมันโอเมก้า-3 และโพรไบโอติกส์ ทุกวัน สามารถช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ดูแลระบบทางเดินอาหาร ลดภาวะการอักเสบเรื้อรัง ส่งผลให้ลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรังได้
ก่อนรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะตั้งครรภ์ ให้นมบุตร มีโรคประจำตัวหรือรับประทานยาอื่น ๆ ควรปรึกษาเภสัชกรหรือบุคลากรทางการแพทย์
สุขภาพดี เริ่มต้นได้ ด้วยการดูแลตัวเองจากภายใน ในทุกๆ วัน
แหล่งอ้างอิง:
1. American Heart Association Website, https://www.heart.org/en/healthy-living/healthy-eating/eat-smart/nutrition-basics/aha-diet-and-lifestyle-recommendations.
2. Hemilä H, Chalker E. Vitamin C for preventing andtreating the common cold. Cochrane Database of Systematic Reviews 2013, Issue 1. Art. No.: CD000980. DOI: 10.1002/14651858.CD000980.pub4
3. Salah Gariballa, Vitamin and mineral supplements for preventing infections in older people, BMJ 2005, Aug 6: 331(7512): 304-305.
4. Xu K, Peng R, Zou Y, Jiang X, Sun Q, Song C. Vitamin C intake and multiple health outcomes: an umbrella review of systematic reviews and meta-analyses. Int J Food Sci Nutr. 2022 Aug;73(5):588-599. doi: 10.1080/09637486.2022.2048359. Epub 2022 Mar 15. PMID: 35291895.
5. Wang X, Zhang P, Zhang X. Probiotics Regulate Gut Microbiota: An Effective Method to Improve Immunity. Molecules. 2021 Oct 8;26(19):6076. doi: 10.3390/molecules26196076. PMID: 34641619; PMCID: PMC8512487.
6. Rodriguez D, Lavie CJ, Elagizi A, Milani RV. Update on Omega-3 Polyunsaturated Fatty Acids on Cardiovascular Health. Nutrients. 2022 Dec 3;14(23):5146. doi: 10.3390/nu14235146. PMID: 36501174; PMCID: PMC9739673.
7. López-Otín C, Blasco MA, Partridge L, Serrano M, Kroemer G. Hallmarks of aging: An expanding universe. Cell. 2023 Jan 19;186(2):243-278. doi: 10.1016/j.cell.2022.11.001. Epub 2023 Jan 3. PMID: 36599349
8. Carr, A. C., & Maggini, S. (2017). Vitamin C and immune function. Nutrients, 9(11), 1211.
9. Gaziano, J. M., et al. (2012). Multivitamins in the prevention of cancer in men. JAMA, 308(18), 1871–1880.
10. Ford, A. C., et al. (2014). Effect of probiotics in IBS: Meta-analysis. American Journal of Gastroenterology, 109(11), 1764–1780.
11. Kris-Etherton, P. M., et al. (2002). Omega-3 fatty acids and cardiovascular disease. Circulation, 106(21), 2747–2757.