วิธีการเสริมสร้างพัฒนาการเด็ก

blackmores thailand
facebook twitter email line

มาดูกันว่า ทำไมการบ่มเพาะพัฒนาทางสังคมและอารมณ์ของเด็กทำให้พวกเขาสามารถประสบความสำเร็จในอนาคตได้ โดยมี 3 วิธีที่คุณสามารถสร้างความแตกต่างเชิงบวกให้แก่พวกเขา
ในช่วงแรกเกิดจนถึงอายุห้าขวบเป็นช่วงที่เด็กเติบโตและมีพัฒนาการมากที่สุด

มันเป็นช่วงเวลาที่พวกเขาสร้างความเป็นตัวตนและพัฒนาทักษะทางสังคมเพื่อให้เข้ากับผู้อื่นได้ รวมทั้งทักษะทางอารมณ์ที่ต้องใช้ในการจัดการกับความรู้สึกอันหลากหลายที่มาพร้อมกับความเป็นมนุษย์
ทักษะเหล่านี้ก่อรวมเป็นรากฐานของพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ทั้งสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตของเด็ก และยังอาจส่งผลต่อการเรียนของพวกเขาได้อีกด้วย

เนื่องจากทักษะทางสังคมและอารมณ์เป็นเรื่องที่ฝึกฝนได้ คุณจึงสามารถช่วยให้บุตรหลานของคุณพัฒนาทักษะในด้านสำคัญๆ ได้ เช่น ทักษะการตัดสินใจ การจัดการกับชีวิตที่มีขึ้นมีลง การสร้างมิตรภาพ ค่านิยมทางสังคม และการเอาใจเขามาใส่ใจเรา

3 วิธีในการเสริมสร้างพัฒนาการของลูกคุณ ในฐานะผู้ปกครองหรือผู้ดูแล ภารกิจของคุณคือ

1. ช่วยให้พวกเขาเรียนรู้ที่จะใส่ใจผู้อื่น
ฉกฉวยทุกช่วงเวลาที่สามารถสอนได้ เพื่อถามคำถามที่กระตุ้นให้เด็กๆ เอาใจเขามาใส่ใจเรา
ลองตั้งคำถามอย่างเช่น: “หนูจะรู้สึกอย่างไรถ้า…?”, “หนูจะรู้ได้อย่างไรว่าเขากำลังเสียใจเรื่องอะไรอยู่?” หรือ “หนูจะช่วยอะไรเขาได้บ้าง?” เพื่อให้เด็กได้ตอบโจทย์จากสถานการณ์จริง หรือสิ่งที่เกิดขึ้นในนิทานหรือในทีวี
มันเป็นการส่งเสริมให้เด็กคิดผ่านสถานการณ์ต่างๆ และคำนึงถึงความรู้สึกและใส่ใจมุมมองของผู้อื่น

fb
pin
วิธีการเสริมสร้างพัฒนาการเด็ก

2. แสดงการรับรู้ความรู้สึกของพวกเขา
มันจะช่วยให้เด็กๆ เห็นอารมณ์ได้ชัดและเข้าใจธรรมชาติของอารมณ์เหล่านั้นได้
ลองพูดว่า: “หนูดูไม่สบายใจ - มีอะไรที่ทำให้หนูกังวลใจหรือเปล่า?” หรือ“ ดูเหมือนหนูเสียใจอะไรอยู่ – บอกได้ไหมว่าทำไม?”
ในขณะเดียวกันก็ต้องระวังให้ดีที่จะหลีกเลี่ยงการห้ามไม่ให้เด็กรู้สึกอย่างที่เขารู้สึกอยู่
คุณอาจคิดว่าการพูดว่า “ไม่ต้องกลัว” เป็นการสร้างความมั่นใจ แต่จริงๆ แล้ว มันกลับทำให้พวกเขาเชื่อว่าอารมณ์บางอย่างไม่ดีหรือผิด
ในความเป็นจริง คุณสามารถมีความรู้สึกทั้งหมดนั้นได้ และเด็กๆ จะต้องมีโอกาสได้สัมผัสและรับรู้ความรู้สึกต่างๆ เสียก่อนที่จะทำความเข้าใจวิธีการรับมือกับมัน

fb
pin
วิธีการเสริมสร้างพัฒนาการเด็ก

3. ส่งเสริมให้พวกเขาได้ตัดสินใจด้วยตัวเอง
มันเป็นทักษะที่ทำให้เด็กๆ ช่วยเหลือตัวเองได้ และมีความรับผิดชอบมากขึ้น ดังนั้นให้พวกเขาได้ฝึกฝน โดยการเปิดโอกาสให้พวกเขาได้เลือกจากตัวเลือกสองสามอย่าง
แบบฝึกหัดนี้จะได้ผลก็ต่อเมื่อคุณมีตัวเลือกต่างๆ ที่จะให้ลูกคุณเลือกอยู่ในใจแล้ว
เพื่อให้เกิดผลได้ดี ลูกต้องได้เลือกเองอย่างแท้จริง คุณจึงต้องแน่ใจว่า ไม่ว่าลูกจะเลือกตัวเลือกใด คุณก็จะไม่ขัดข้อง และเมื่อเขาได้เลือกแล้ว ควรให้เวลาในการถามคำถามสองสามข้อที่กระตุ้นให้เขาได้คิดถึงเหตุผลในการเลือก นี่จะช่วยให้เขาได้เรียนรู้ที่จะพิจารณาตัวเลือก และได้คิดถึงผลของการกระทำ ข้อเสนอแนะ เช่น: “อะไรที่ทำให้หนูชอบตัวเลือกนี้?”, “ทำไมมันจึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด?” หรือ“ทำไมมันจึงเหมาะล่ะ?”

blackmores thailand blackmores thailand blackmores thailand
facebook twitter email line