ช็อค! เมื่อรู้ว่าผู้หญิงมีความเสี่ยงเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารถึง 37% !!

blackmores thailand
facebook twitter email line

โรคแผลในกระเพาะอาหารนั้น เกิดจากการที่กรดในกระเพาะกัดทำลายผนัง และ เนื้อเยื่ออ่อนภายใน จนทำให้เกิดอาการอักเสบซึ่งจุดที่เกิดมักจะอยู่ในบริเวณลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenum) โรคดังกล่าวอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) หรือ เอชไพโลโร (H.pylori) ซึ่งปกติแล้วเชื้อแบคทีเรียเพียงลำพังไม่สามารถก่อให้เกิดโรคแผลในกระเพาะอาหารได้ แต่อาจเกิดร่วมกับปัจจัยอื่น เช่น ความเครียด พฤติกรรมการรับประทานอาหารและ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งในบางครั้งร่างกายอาจไม่ได้แสดงอาการผิดปกติใดๆออกมาเลย

fb
pin
ช็อค! เมื่อรู้ว่าผู้หญิงมีความเสี่ยงเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารถึง 37% !!

สัญญาณเตือน เมื่อโรคแผลในกระเพาะมาเยือน
สัญญาณเริ่มต้นของโรค อาจมาจากอาการปวดท้องเล็กน้อย จนถึงมาก หรือ อาจเป็นอาการปวดท้องหลังรับประทานอาหารไปแล้ว 45 – 60 นาที นั่นรวมถึงการปวดท้องกลางดึก ซึ่งอาการปวดท้องของโรคจะคล้ายกับเวลาปวดท้องหิวข้าว นอกจากนี้อาการอาจแสดงออกทางอุจจาระโดยมีสีดำและมีเลือดปน โดยอาการอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ อาการปวดหลังช่วงล่าง คลื่นไส้ อาเจียน และ เวียนศีรษะ

เริ่มต้นรักษา
การรักษานั้นจะเน้นที่การปรับสมดุลของน้ำย่อยให้มีสภาวะเป็นกลาง หรือ ลดสภาพความเป็นกรดควบคู่กับแผนการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร ซึ่งเกิดจากการที่ผู้ป่วยผลิตน้ำย่อยในกระเพาะอาหารได้ในปริมาณน้อย หรือผลิตปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในผนังกระเพาะอาหารได้ต่ำกว่าปกติ

fb
pin
ช็อค! เมื่อรู้ว่าผู้หญิงมีความเสี่ยงเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารถึง 37% !!

ดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลโรคแผลในกระเพาะอาหาร
อาจเริ่มด้วยวิธีที่ง่ายๆ จากการเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน เพื่อช่วยในการย่อยของกระเพาะอาหาร และ ทำจิตใจให้สบายไม่ให้เกิดความเครียด เนื่องจากความเครียดเป็นสาเหตุหนึ่งของโรค

ข้อควรรู้
หากพบอาการในกรณีต่อไปนี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์
1. มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง
2. อุจจาระมีตะกอนคล้ายเม็ดกาแฟ หรือ มีเลือดปน
3. อาเจียนเป็นเลือด

blackmores thailand blackmores thailand blackmores thailand
facebook twitter email line