เมื่อแสงแดดไม่ได้ให้แค่ความร้อน แต่ยังให้มะเร็งผิวหนังมาอีกด้วย!

blackmores thailand
facebook twitter email line

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าแสงแดดในปัจจุบันรุงแรงจนสามารถทำให้ผิวหนังไหม้ได้ ซึ่งนั้นอาจเป็นสาเหตุหลังของโรคมะเร็งผิวหนัง ซึ่งนั้นทำให้คนไทยมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งผิวหนังด้วย แต่ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีว่า โรคมะเร็งผิวหนังในปัจจุบันนั้นสามารถป้องกันและรักษาให้หายได้ โดยยิ่งพบเร็วเท่าไรก็ยิ่งมีโอกาสรักษาให้หายได้ง่ายขึ้น เรามาดูกันว่าอาการทั่วไปที่เป็นสัญญาณเตือนถึงโรคมะเร็งผิวหนังมีอะไรบ้าง

มะเร็งผิวหนัง เมลาโนมา (Melanoma) เป็นมะเร็งผิวหนังชนิดร้ายแรงที่สุด การเกิดมะเร็งชนิดนี้ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นคนที่โดนแดดมากเท่านั้น ซึ่งจะมีอาการ ได้แก่
• มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของไฝที่มีอยู่
• มีการกระจายของจุดเล็กๆ สีเข้ม มีหลายสี และลักษณะขอบเป็นขุย (มีทั้งแบบที่นูนขึ้นมาเหมือนไฝ หรือราบเป็นเนื้อเดียวกับผิวหนังเหมือนขี้แมลงวัน) อาจมีเลือดออกและกลายเป็นสะเก็ดแผล
• มีติ่งก้อนเนื้อที่มีลักษณะเป็นมันเงา แข็ง และมีสีเข้ม

มะเร็งผิวหนัง บาซอล เซลล์ คาร์ซิโนมา (Basal Cell Carcinoma - BCC) มักเกิดบริเวณชั้นตื้นๆ ของผิวหนัง โดยเฉพาะผิวหนังที่โดนแสงแดดมาก มีการแสดงอาการดังนี้
• มีก้อนเนื้อสีเดียวกับผิวหนัง รูปกลมหรือรี ที่อาจกลายเป็นแผล มีเลือดออก และไม่หาย
• มีจุดแดงเรียบเป็นรูทะลุตรงกลาง
• มีก้อนเนื้อแบนแข็งติดกับผิวหนัง มีสีแดง สีน้ำตาล หรือสีน้ำเงินอมดำ

มะเร็งผิวหนัง สะแควมัส เซลล์ คาร์ซิโนมา (Squamous Cell Carcinoma - SCC) มีลักษณะและสาเหตุการเกิดคล้ายบาซอล เซลล์ คาร์ซิโนมา แต่ลุกลามเร็วกว่า มีอาการดังนี้
• มีก้อนเนื้อสีแดง แข็ง โตขึ้นเรื่อยๆ และกลายเป็นสะเก็ดแข็ง
• มีจุดแบนเกิดขึ้นบนผิวหนัง มักมีเลือดออก และเป็นแผลที่ไม่หาย

fb
pin
เมื่อแสงแดดไม่ได้ให้แค่ความร้อน แต่ยังให้มะเร็งผิวหนังมาอีกด้วย!

สาเหตุ
มากกว่า 90 % ของมะเร็งผิวหนังเกิดจากการโดนแดดมากเกินไป ซึ่งปกติหลังจากโดนแดดแล้วผิวหนังจะมีการซ่อมแซมตัวเองโดยหยุดกระบวนการที่เซลล์ผิวหนังถูกทำลาย และทำให้ผิวหนังที่ถูกเผาไหม้นั้นหลุดลอกออกไป (ซึ่งนี่คือเหตุผลว่าทำไมหลังโดนแดดแล้วผิวหนังมักหลุดลอก) แต่ถ้ากระบวนการนี้มีความบกพร่องจึงทำให้เซลล์ที่ถูกทำลายเกิดการขยายตัวมากขึ้นจนกลายเป็นเซลล์ที่ผิดปกติ และทำให้ผิวหนังมีความอ่อนแอมากขึ้นจากการถูกทำลายโดยแสงแดด

มะเร็งผิวหนังชนิด บาซอล เซลล์ คาร์ซิโนมา และชนิดสะแควมัส เซลล์ คาร์ซิโนมา มักเกิดจากการที่โดนแสงแดดเป็นประจำ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่แดดแรง มักจะเกิดขึ้นบนใบหน้า เพราะเป็นบริเวณที่เผชิญกับแสงแดดได้ง่ายที่สุด

ส่วนมะเร็งผิวหนังชนิด เมลาโนมา แม้ว่าจะไม่ได้มีสาเหตุหลักจากการโดนแสงแดดมากก็ตาม แต่มีข้อมูลว่า คนที่ชอบอาบแดดและผิวหนังโดนแดดเผาไหม้หรือพุพองก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งผิวหนังชนิดนี้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าถูกแดดเผาไหม้ในวัยเด็กบ่อยครั้ง จะมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นมะเร็งชนิดเมลาโนมา มากขึ้นเป็น 2 เท่าเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่

กลุ่มคนที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งชนิดเมลาโนมา ได้แก่
• คนผิวขาว โดยเฉพาะชาวตะวันตก
• คนผมแดง
• คนผมทอง ตาสีฟ้า
• คนเผือก ซึ่งมีเซลล์สีผิวผิดปกติ
• คนที่มีกระหรือไฝจำนวนมาก
• คนทำงานที่ต้องสัมผัสกับสารเคมีที่ระคายเคืองผิวหนัง สารกัมมันตรังสี ยาฆ่าแมลง หรือสารก่อมะเร็งอื่นๆ บ่อยครั้งและไม่ได้ป้องกันอย่างดี

มะเร็งผิวหนังสามารถรักษาหายได้หากตรวจพบได้ทันท่วงทีก่อนที่จะเกิดการกระจายตัว แต่วิธีที่ดีที่สุด คือ การป้องกัน โดยปกป้องผิวไม่ให้โดนแสงแดดมากเกินไป เช่น ทาโลชั่นกันแดด หรือใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดผิวหากต้องออกไปอยู่กลางแสงแดดที่รุนแรง รวมถึงการสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นบนผิวหนังของตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากมะเร็งผิวหนังมีการลุกลาม โดยเฉพาะมะเร็งผิวหนัง เมลาโนมา ซึ่งสามารถกระจายไปสู่อวัยวะภายในได้ จะทำให้การรักษาเป็นไปได้ยากขึ้น

ธรรมชาติบำบัด
• อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินเอ (เบต้าแคโรทีน) วิตามินซี และวิตามินอี ช่วยลดความเสี่ยงของการที่เซลล์ผิวหนังถูกทำลายได้ โดยเฉพาะเมื่อใช้ร่วมกับแร่ธาตุสังกะสี และแร่ธาตุซีลีเนียม (Selenium)
• กรดไขมันจำเป็น (Essential fatty acids) ซึ่งเป็นกรดไขมันที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ต้องรับประทานเข้าไป พบมากในน้ำมันดอกอิฟนิ่งพริมโรส (Evening primrose) และน้ำมันปลา (Fish oils) ซึ่งดีต่อสุขภาพร่างกายและผิวพรรณ

fb
pin
เมื่อแสงแดดไม่ได้ให้แค่ความร้อน แต่ยังให้มะเร็งผิวหนังมาอีกด้วย!

การรักษา
• หลีกเลี่ยงการโดนแดดมากเกินไปหรือการอาบแดด โดยเฉพาะกับเด็กๆ ควรดูแลให้ใส่เสื้อแขนยาว ทาครีมกันแดด และสวมหมวก เมื่อต้องอยู่ท่ามกลางแสงแดด
• หากสามารถหลีกเลี่ยงได้ก็ไม่ควรออกไปเผชิญกับแดดในช่วงเวลาตั้งแต่ 11:00 – 15:00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่แสงแดดรุนแรงที่สุดของวัน
• ถ้าจำเป็นต้องโดนแดดก็ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดผิวและทาครีมกันแดด
• หมั่นตรวจสอบความผิดปกติของผิวหนังด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ และหากสังเกตเห็นความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นควรรีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง หรือแพทย์ผิวหนังทันที และควรตรวจเช็คอย่างละเอียดทุกๆ 6 เดือนหรือ 1 ปี
• รับประทานอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนประกอบของสารต้านอนุมูลอิสระให้บ่อยครั้งขึ้นต่อสัปดาห์ โดยเฉพาะหลังจากที่ต้องเผชิญกับแสงแดดรุนแรง หรือเกิดผิวหนังไหม้พุพอง เพื่อเป็นตัวช่วยให้ร่างกายสามารถเยียวยาตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และหากคุณเป็นคนที่ชอบอาบแดดเป็นประจำ ควรรับประทานอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ

แต่ถึงอย่างไร ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์ผิวหนังทันทีที่สังเกตเห็นความผิดปกติอันเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงมะเร็งผิวหนังเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณเคยเป็นมะเร็งผิวหนังมาก่อน โอกาสที่จะเป็นอีกก็มีสูง ดังนั้นการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์เพื่อวางแผนในการป้องกันรักษาจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก และหากสังเกตพบว่ามีไฝที่มีลักษณะผิดปกติ หรือมีการเปลี่ยนแปลงทั้งสี ขนาด รูปร่าง รวมทั้งมีบาดแผลที่เป็นๆ หายๆ ควรรีบทำการรักษาแต่เนิ่นๆ เพื่อไม่ให้ลุกลามหรือกระจายออกไป จนกลายเป็นมะเร็งผิวหนังที่รุนแรงได้

blackmores thailand blackmores thailand blackmores thailand
facebook twitter email line