น้ำมันปลา ประโยชน์ของน้ำมันปลา และเราควรรับน้ำมันปลาเสริมอาหารเมื่อไร?

blackmores thailand
facebook twitter email line

สงสัยไหมว่า คุณบริโภคน้ำมันปลาอย่างเพียงพอหรือไม่ - และทำไมคุณต้องเสริมมันด้วย มาอ่านข้อเท็จจริงที่สำคัญเกี่ยวกับน้ำมันปลากัน

น้ำมันปลาเป็นแหล่งของกรดไขมันโอเมก้า-3 ซึ่งเป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนชนิดหนึ่งที่ช่วยเสริมสุขภาพร่างกายโดยรวม

อย่างที่ชื่อบอก น้ำมันปลามีแหล่งที่มาจากปลา แต่ปลาบางชนิดมีไขมันที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าปลาชนิดอื่น

น้ำมันปลาให้ประโยชน์ที่สำคัญต่อสุขภาพ ดังนั้นคุณควรตั้งเป้าบริโภคให้ได้มากเท่าไรต่อวันและแหล่งน้ำมันปลาที่ดีที่สุดคืออะไร?

น้ำมันปลามีประโยชน์อย่างไร?

อีพีเอ และ ดีเอชเอ เป็นกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่พบในน้ำมันปลา การบริโภค อีพีเอ และ ดีเอชเอ อย่างสม่ำเสมอจะช่วยเสริมสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ ทำให้ดวงตาทำงานได้ดี และลดการอักเสบที่ไม่รุนแรงของข้อต่อและลดอาการของโรคข้ออักเสบชนิดไม่รุนแรง

นอกจากนี้ ยังช่วยรักษาสมดุลไขมันในเลือด เสริมสุขภาพสมอง และการทำงานของสมองด้วย

การได้รับ ดีเอชเอ โอเมก้า-3 อย่างเพียงพอในระหว่างตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาสมอง ระบบประสาท และสายตาของทารกให้เป็นปกติ

ร่างกายเราผลิตโอเมก้า-3 ไม่ได้ มันจึงต้องมาจากอาหารที่เรากิน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากปลา หากคุณรับประทานปลาไม่ได้ถึง 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ อาหารเสริมน้ำมันปลาก็เป็นอีกหนึ่งแหล่งของโอเมก้า-3 ที่คุณรับประทานเสริมได้

ฉันจะหากรดไขมันโอเมก้า-3 จากไหนในอาหารเจ?

โอเมก้า-3s พบได้ในไขมันและน้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันคาโนลาและถั่วเหลือง เมล็ดลินสีด เมล็ดเจีย และวอลนัท แต่ก็มันมีความแตกต่างจากน้ำมันปลาเล็กน้อย

โอเมก้า-3 ที่มาจากพืชเหล่านี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ เอแอลเอ และมันก็ควรถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาหารสมดุลเพื่อสุขภาพ แต่ อีพีเอ และ ดีเอชเอ ในน้ำมันปลาต่างหากที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากที่สุด

ร่างกายของเราสามารถแปลง เอแอลเอ หรือโอเมก้า-3 ที่มาจากพืชบางส่วนให้เป็นรูปแบบที่เป็นประโยชน์มากขึ้นเช่นเดียวกับที่พบในน้ำมันจากแหล่งทางทะเลได้บ้าง แต่มีอัตราการแปลงต่ำ

คุณต้องการโอเมก้า-3 มากแค่ไหน?

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าร้อยละ 80 ของชาวออสเตรเลียไม่ได้รับประทานหรือบริโภคน้ำมันปลาอย่างพอเพียง หรืออย่างน้อยก็ไม่เพียงพอที่จะได้รับประโยชน์ด้านสุขภาพ

fb
pin
น้ำมันปลา ประโยชน์ของน้ำมันปลา และเราควรรับน้ำมันปลาเสริมอาหารเมื่อไร?

ปริมาณโอเมก้า-3 ที่เราต้องการขึ้นอยู่กับประโยชน์ต่อสุขภาพที่เราหวังจะได้รับ

ตามแนวทางทั่วไป เด็กอายุระหว่างสองถึงสามปีต้องรับประทานอย่างน้อย 40 มิลลิกรัมต่อวัน โดยเพิ่มขึ้นเป็น 55 มิลลิกรัมต่อวันในเด็กอายุ 4-8 ปี สำหรับวัยรุ่นอยู่ระหว่าง 70 ถึง 125 มิลลิกรัมต่อวัน ขึ้นกับอายุและเพศ

สำหรับผู้ใหญ่ มูลนิธิหัวใจแนะนำให้บริโภค อีพีเอ และ ดีเอชเอ ระหว่าง 250 และ 500 มิลลิกรัม ในแต่ละวัน หรือ ให้ได้ระหว่าง 1,750 ถึง 3,500 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์

คุณสามารถบริโภคให้ได้ตามเป้าด้วยการรับประทานปลาที่อุดมด้วยน้ำมันปลาสองถึงสามส่วนทุกสัปดาห์ และเสริมด้วยอาหารเสริมน้ำมันปลา

อย่างไรก็ตาม หากต้องการคงระดับไขมันในเลือดให้มีสุขภาพดี ควรบริโภคโอเมก้า-3 ประมาณ 900 มิลลิกรัม และหากต้องการลดการอักเสบในข้อต่อที่ไม่รุนแรง ก็ควรบริโภคให้ได้ 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน
มันก็เป็นไปได้ แต่ก็ยากที่จะบริโภคกรดไขมันโอเมก้า-3 มี่มากมายเกินไป และให้ได้ปริมาณสูงสุดของการบริโภคในขนาด 3,000 มิลลิกรัมต่อวัน

ปลาสดเป็นแหล่งโอเมก้า-3 'ที่ดีที่สุด' ใช่หรือไม่?

ไม่จำเป็นเสมอไป ความจริงแล้ว ปลากระป๋องบางประเภทมีปริมาณกรดไขมัน อีพีเอ และ ดีเอชเอ โอเมก้า-3 ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนบริโภคมากกว่าปลาสด

นั่นเป็นข่าวดี เพราะปลากระป๋องมักมีราคาถูกกว่าปลาสด ซึ่งนั่นก็ทำให้สามารถหาซื้อมารับประทานสองถึงสามส่วนต่อสัปดาห์ได้ในราคาที่ไม่แพง

ปลาชนิดใดที่มีโอเมก้า-3 มากที่สุด

เมื่อพูดถึงปริมาณของ อีพีเอ และ ดีเอชเอ กฎง่ายๆ ที่ควรจำก็คือ ปลาที่มีความมันยิ่งมาก ยิ่งดี ปลาที่อุดมน้ำมันคือมีไขมันอย่างน้อยร้อยละ 10 ในรูปของน้ำมันโอเมก้า-3 ที่ดีต่อสุขภาพ

fb
pin
น้ำมันปลา ประโยชน์ของน้ำมันปลา และเราควรรับน้ำมันปลาเสริมอาหารเมื่อไร?

ต่อไปนี้เป็นปริมาณของกรดไขมันโอเมก้า-3 ต่อเนื้อปลา 150 กรัม:

ปลาซาร์ดีนบรรจุกระป๋อง: 1,500 มิลลิกรัม
ปลาแซลมอนกระป๋อง: 500-1,000 มิลลิกรัม
หอยแมลงภู่: 500-1,000 มิลลิกรัม
แซลมอนแอตแลนติกหรือออสเตรเลีย: มากกว่า 500 มิลลิกรัม
ปลาแมกเคอเรล: มากกว่า 500 มิลลิกรัม
ปลากระบอก: มากกว่า 500 มิลลิกรัม
ปลาซาร์ดีนสด: มากกว่า 500 มิลลิกรัม
ปลาทูน่ากระป๋อง: 300-500 มิลลิกรัม
ปลากะพง: 300-400 มิลลิกรัม
ปลาบลูอายเทรวัลลา: 300-400 มิลลิกรัม
ปลาทูน่า: 300-400 มิลลิกรัม
ปลากระพงขาว: 200-300 มิลลิกรัม
ปลาตาเดียว: 200-300 มิลลิกรัม
กุ้ง: <300 มิลลิกรัม

อาหารอื่นๆ มี อีพีเอ และ ดีเอชเอ หรือไม่?

แหล่งที่ดีที่สุดของ อีพีเอ และ ดีเอชเอ คือ ปลาและน้ำมันปลาแคปซูล แต่อาหารอื่นๆ บางอย่างก็มีกรดไขมันโอเมก้า-3 ปริมาณเล็กน้อย เช่น เนื้อวัว เนื้อแกะ และไข่ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ที่เสริมด้วยน้ำมันปลา ซึ่งอาจมีเนยเทียม ขนมปังและไข่

ปริมาณโอเมก้า-3 ในอาหารเหล่านี้ต่ำกว่าที่มีอยู่ในปลาและอาหารทะเลมาก มีอยู่เพียง 20 มิลลิกรัม ถึง 125 มิลลิกรัมต่อส่วนบริโภคเท่านั้น

ฉันควรกังวลเรื่องสารปรอทหรือไม่?

จากข้อมูลของมูลนิธิหัวใจ ประโยชน์ด้านสุขภาพที่ได้จากการรับประทานปลามีน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคุณจะตั้งเป้ารับประทานปลาสองมื้อขึ้นไปต่อสัปดาห์ แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงหรือจำกัดการบริโภคของสายพันธุ์ที่มีสารปรอทสูง

สายพันธุ์ที่ว่านั้นรวมถึง ฉลาม ปลาดุก ปลากระโทงแทงดาบ ปลามาร์ลิน และปลาหัวเมือก (ซึ่งบางครั้งเรียกว่าปลากะพงน้ำลึก) เจมฟิช ปลาลิง และปลาทูน่าครีบน้ำเงินใต้ สายพันธุ์ปลาเหล่านี้มีแนวโน้มว่าจะมีสารปรอทสูงกว่าพันธุ์อื่นๆ

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันปลาแบลคมอร์ส

แบลคมอร์ส ได้เดินทางไปทั่วโลกเพื่อสรรหาน้ำมันปลาคุณภาพระดับพรีเมียมและจากแหล่งที่ได้รับความผิดชอบมาใช้ในผลิตภัณฑ์ของเรา

เราเข้าไปมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การเลือกวัตถุดิบที่แหล่งกำเนิด จนถึงการสกัดน้ำมัน และการผลิตแคปซูล

เราจัดหาน้ำมันปลาจากปลาเล็กปลาน้อยตามแหล่งธรรมชาติ 100 เปอร์เซนต์ เพื่อให้แน่ใจว่าได้น้ำมันปลาคุณภาพดีที่สุด

ผลิตภัณฑ์น้ำมันปลาของแบลคมอร์ส ทุกชนิดผ่านการทดสอบคุณภาพอย่างน้อย 30 ครั้งและตรวจสอบก่อนที่จะนำไปส่งขายตามร้านค้า

blackmores thailand blackmores thailand blackmores thailand
facebook twitter email line